วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม

E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม




  • การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณภาพของสื่อ
  • ในขั้นตอนที่กำหนดใน 3 ประเด็น คือ
    • 1. ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
    • 2. ช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทำแบบประเมินสุดท้ายที่มีประสิทธิภาพ
    • 3. ผู้เรียนกับผู้สอนมีความพึงพอใจในการเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนในระดับมาก


  • ค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนหรือบทเรียนแต่ละครั้ง ห้ามนำค่า E1/E2 มารวมกัน แล้วรายงานเป็นค่า E1/E2 ของวิชาหรือกลุ่มสาระ
*********************************************
  • ขอขอบคุณบทความของ รศ. ดร. มนตรี แย้มกสิกร เรื่องเกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน:ความแตกต่าง 90/90 Standard และ E1/E2 (How to use efficiency criterion in media research and development : The Difference between 90/90 Standard and E1/E2 )
    • การหาค่าประสิทธิภาพสื่อการสอนที่มีหลักการและแนวคิดสนับสนุน มี 2 วิธี คือ
      • (1) เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) ตามแนวคิดของรองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท
      • (2) E1/E2 ตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
    • ที่มา/ศึกษาเพิ่มเติม
  • Link และชื่องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (สำหรับศึกษาเพิ่มเติม)
    • วารสาร ศิลปากรศึกษาศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556) หน้า 7 - 19 
      • https://www.facebook.com/chaiyong.brahmawong.7/posts/10203387676665122
      • ข้อพึงระวัง
        • การทดสอบประสิทธิภาพ ต้องหาประสิทธิภาพเป็นรายสื่อ รายชุด หรือรายหน่วย ไม่ใช่นำไปรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย
        • การทดสอบประสิทธิภาพมุ่งทดสอบหาความก้าวหน้าในการเรียนเป็นรายครั้ง
        • จะต้องทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนเป็นรายสื่อ รายชุดการสอน หรือรายบทเรียน
        • การทดสอบประสิทธิภาพไม่ใช่การทดสอบผลสัมฤทธิ์
    • ตัวอย่างบทคัดย่อที่เขียนตามแนวคิด
    • Thailis
    • วิจัยแบบ FullText ที่ทำตามแนวคิดของท่านศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
      • http://ird.stou.ac.th/dbresearch/index.php  หรือ  http://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=14  เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  (ผู้วิจัย  : รองศาสตราจารย์สุมนทิพย์ บุญสมบัติ และรองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา ทวีกุลทรัพย์)
      • http://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=79 การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่องการจัดการเรียนการสอนพหุวัฒนธรรมให้กับผู้เรียนในสถานศึกษา (ผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ ดร.สิริวรรณ ศรีพหล) มีการนำเสนอ Tryout + Trial Runs ด้วย (น่าสนใจศึกษา)
      • ชุดการสอนซ่อมเสริมรายบุคคลเรื่อง เศษส่วน ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ผู้วิจัย : นายสัญชัย รอบรู้)  จาก  thailis  (มีท่านศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เป็นอาจาย์ที่ปรึกษา)
    • คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.educ.su.ac.th
      • ดูที่หัวข้อ : ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย / อบรม
        • บทความวิจัยพิเศษของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
        • เอกสารประกอบการบรรยาย (การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา)
        • เอกสารประกอบการบรรยาย (นวัตกรรม คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การเรียนการสอน)
        • เอกสารประกอบการบรรยาย (การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน)

t-test แบบ Independent และ t-test แบบ Dependent

“การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test

การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test
รวบรวมข้อความรู้เกี่ยวกับการใช้สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่นิยมใช้ในการวิจัย ที่เปรียบเทียบความแตกต่างของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง ในตอนแรกจะเสนอเนื้อหาการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test ซึ่งมี 2 แบบ คือ t-test  แบบ Independent และ t-test  แบบ Dependent  ซึ่งมีวิธีการเลือกใช้และข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้แตกต่างกัน  ส่วนเนื้อหาตอนหลังมีสรุปเกี่ยวกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างที่ใช้กันบางตัว เช่น F-test   ANOVA เป็นต้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ค่ะ
การทดสอบที (t-test)  เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า “student” ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี   ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า Student  t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม (อรุณี  อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)

การใช้ t-test  แบบ Independent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน  ใช้สถิติการทดสอบค่า t  มีชื่อเฉพาะว่า  t-test  for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมี 2 กรณี (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)

ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Two Independent Samples)
t-test (Independent)
1.      กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กัน(เป็นอิสระต่อกัน)
2.      ค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3.      กลุ่มตัวอย่างได้มาอย่างสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4.      ไม่ทราบความแปรปรวนของแต่ละประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 58)

 การใช้ t- test แบบ dependent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว
ได้แก่ สถิติการทดสอบค่า t  มีชื่อเฉพาะว่า  t-test  for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2540, หน้า 240) กล่าวว่า ข้อมูลที่เรียกว่า คู่(pair observation) นั้นมีหลายประเภท แต่คุณสมบัติสำคัญจะต้องเกี่ยวข้องกัน (Dependent Sample)มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ ข้อมูลที่สอบหรือวัดจากคนเดียวกัน 2 ครั้ง
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ t-test (Mean One Sample Test)  กรณีมีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม(One Sample)
1.      ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค(Interval Scale) หรือมาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
2.      กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มได้จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
3.      ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
4.      ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 55)
ประเภทที่สอง เป็นประเภทคุณลักษณะของตัวอย่างที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดเลือกมาเป็นคู่ๆ(math-pairs) เช่น เด็กฝาแฝด  สามีภรรยา  เชาว์ปัญญาเท่ากัน รสนิยมเดียวกัน เป็นต้น  ตอนเลือกมาจะเป็นคู่ๆ แต่ตอนทำการทดลอง หรือศึกษาจะต้องสุ่มอีกครั้ง การทดสอบความแตกต่างจะใช้  t- dependent
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน(Two Related-Samples)
t-test (Dependent or Matched Pair Sample)
1.      ข้อมูล 2 ชุดได้มาจากลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หรือมาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน
2.      ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3.      กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4.      ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 56-57)
 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 381) สรุปไว้ว่า สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว มี 2 ตัว คือ  Z-test  กับ  t-test
Z-test  ใช้ในกรณีที่ ทราบความแปรปรวนของประชากร(µ) ถ้าไม่ทราบจะใช้ t-test  แต่มีตำราหรือนักสถิตหลายท่าน เสนอว่า หากไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรถ้ามีตัวอย่างขนาดเล็ก น้อยกว่า 30 ให้ใช้ t-test   แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ คือ มากกว่า 30 จะใช้ Z-test  ก็ได้เป็นการใช้เพื่ออนุโลมกัน มิใช่ว่าจะใช้แทนกันได้เลย เพราะว่า ค่าวิกฤติของ t-test   ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ ส่วนของ Z-test  ไม่ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ จากตารางการแจกแจงแบบ t จะเห็นว่า เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น ค่า t จะใกล้เคียงกับค่า Z และเกือบจะเท่ากัน เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเท่ากับ 120 เป็นต้นไป ฉะนั้น ถ้าไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร จะใช้ Z-test  แทน t-test  

 สิทธิ์  ธีรสรณ์(2552, หน้า 152-153) สรุปไว้ว่า ในกรณีที่เป็นสถิติอิงพารามิเตอร์ ถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ก็ใช้ t-test   ซึ่งแบ่งเป็น  t-test   for  Independent  Means สำหรับการเปรียบเทียบสองกลุ่ม ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ก็ใช้  t-test   for  Dependent  Means  ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนมากกว่าสองกลุ่ม ก็ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance หรือ ANOVA) 
ดาวน์โหลดเอกสาร

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

Content Managment System


เป็นระบบปฏิบัติการเนื้อหา ช่วยในการสร้างเเละบริหารเว็บไซต์สำเร็จรูป จัดการบทความเเละข่าวสารบทวิจารณ์ ระบบจัดการสมาชิก ระบบสืบค้นข้อมูล ระบบวิเคราะห์เเละตรวจสอบสถติความนิยมของการเข้าชมว็บไซต์http://www.thaimeboard.com/

Learning Managment System






เป็นระบบE- learning ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.pharm.chula.ac.th/ที่พัฒนาโดยใช้ระบบ Model open Soure Learning Managment System มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีระบบจัดการเรียนรายวิชา Course Managment System (CMS)  การสร้างรายวิชาจัดทำเนื้อหาบทเรียนรายวิชาเเละจัดทำเเหล่งค้นคว้าข้อมูล  มีระบบบริหารจักการข้อมูลผู้เรียน ระบบเข้าให้ตรวจสอบการใช้งานรายละเอียด มีระบบตรวจกิจกรรมเเละติดตามประเมินผลTest & Traking Managment System กิจกรรม เเบบฝึกหัด ระบทดสอบประเมินผลการเรียน เเละมีระบบปฏิบัติการเชิงปฏิสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์กับนิสิต