ดาวน์โหลดเอกสาร
( ตัวอย่างเอกสาร)
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
File Transfer Protocol
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password)ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมFilezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน
ความสำคัญของ FTP
โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
โดยปกติเมื่อเราต้องการทำเว็บไซต์ไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องนึกถึงและขาดไม่ได้คือ Hosting หรือ Server ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก การที่เว็บไซต์ของเราสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีหยุดนั้น ก็เพราะ Hosting ไม่เคยปิดนั่นเอง ส่วนการสร้างเว็บไซต์เกิดจากการเขียน Code โปรแกรม ไม่ว่าจะเขียนด้วยภาษา HTML , PHP , ASP , ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องนำไฟล์ที่เราเขียนเสร็จเรียบร้อยไปใส่บน Hosting เพื่อสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน แต่ด้วยหนทางที่อยู่ไกลกันระหว่างเรากับ Hosting ที่เราขอใช้บริการไว้ เราจึงต้องใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ในการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา กับ Hosting ซึ่งเทคโนโลยีนั้นคือ FTP นั่นเอง
1.widget 2.gadget 3.mashup 4.RSS 5.XML 6. artificial intelligence(AI) 7.phishing
1.widget 2.gadget 3.mashup 4.RSS 5.XML 6. artificial intelligence(AI) 7.phishing
Widget
Widget (วิจิท) คือ ชุดคำสั่งโปรแกรมขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานที่สร้างจากโปรแกรมแฟลช หรือจาวาสคริปต์ ช่วยรองรับการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่นหรือระบบปฏิบัติการ Widget ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน และแถบเมนู Widget ถูกนำไปติดไว้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึง บล็อค และมือถือด้วย
...Widget ถ้าดาวน์โหลดมาติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเล็กๆ ที่ว่านี้ จะปรากฏตัวอยู่บนหน้าจอมอนิเตอร์ (Desktop)มีสีสันสวยงาม โปร่งใส และใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะเป็นพยากรณ์อากาศ ปฏิทิน นาฬิกา ตารางนัดหมาย หรือแม้กระทั่งเป็นข่าวสารที่ส่งผ่านมาถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ได้ สะดวกสบาย เวลาจะออกจากบ้าน แต่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เห็นพยากรณ์อากาศ ฝนจะตกแดดจะออก พายุจะเข้า เรารู้หมด อยากรู้ผลบอล มันก็อยู่ตรงหน้าคุณ ข่าวสารรวดเร็ว ไม่ต้องเข้าเว็บไซต์นั้น มาโผล่ที่บล็อกนี้ กลับไปกลับมา ไม่ต้องรันโปรแกรมด้วย เพราะมันทำงานตลอดเวลาอยู่แล้ว เว้นแต่คุณจะสั่งปิดการทำการของมันเอง
ที่มา
Gadget
Gadget หมายถึง อุปกรณ์ คำ คำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันไม่นานนี่เอง จะนำมาใช้ในรูปแบบของโปรแกรมเสริม เล็กๆน้อยๆ เช่น นาฬิกา บน windows 7 โปรแกรมเสริมการรายงานข่าว และเริ่มมีการใช้กับอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีที่มันสมัย และมีขนาด ทั้งด้านความจุหรือปริมาณไม่มาก (ขนาดเล็ก) ส่วนใหญ่จะเน้น ด้านความบันเทิง ความสนุก ความสะดวก เราคงจะพอทราบความหมายของคำว่า Gadget กันบ้างแล้วใช้ไหม สรุปก็คือ สิ่งประดิษฐ์ ขนาดเล็กๆ ในดานเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม หรืออุปกรณ์ ก็สามารถเรียกว่าGadget ได้เหมือนกัน แต่จะเป็นประเภทไหนแค่นั้นเอง
แกดเจ็ต มีสองความหมายด้วยกัน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมขนาดเล็กที่ช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนชอตคัต เช่น การบอกเวลาจากนาฬิกา การติดตามข่าวสาร ฟังวิทยุ หรือตรวจสอบราคาหุ้น โดยแกดเจ็ตจะช่วยย่นเวลาในการเปิดเบราว์เซอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลทีละรายการ เปลี่ยนเป็นการนำข้อมูลดังกล่าวมาไว้บนเดสต์ทอป ในอีกความหมายถึง แกดเจ็ต คือ อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้กับโน้ตบุ๊กหรืออาจจะหมายถึงของเล่นไฮเทคที่มีความล้ำยุค
ที่มา
Mashups
“Mashups” เวบไซด์ที่รวบรวมเนื้อหาหรือบริการจากหลายๆที่เข้าไว้ด้วยกัน
โปรแกรมประยุกต์ใช้งานทั่วไปที่ทำงานบนเวบเบราเซอร์ สามารถทำงานได้เร็วเกือบเทียบเท่ากับโปรแกรมที่ติดตั้งลงบนเครื่องPC ต้องขอขอบคุณเครื่องมือการเขียนโปรแกรมใหม่ๆที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีของเวบในขณะนี้เอาไว้ด้วยกันเช่นAJAX(Asynchronous JavaScript and XML) และRuby on Rails ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีของJava ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆทำให้เราสามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ บนเครื่อง PC ฝั่ง Client หรือฝั่งของผู้ใช้ได้ นั่นหมายความว่าจำนวนข้อมูลที่จะถูกส่งและรับจาก Web Server จะลดลงมาก และโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็น เวบเบราเซอร์ ทั่วไปก็จะสามารถทำงานร่วมกับเวบไซด์ต่างๆได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงจากการรอรับข้อมูลอย่างเดียวไปเป็นการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และเวบเพจนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคโนโลยีเวบ ผู้ใช้สามารถส่งไฟล์รูปภาพ,ไฟล์เอกสาร และ ไฟล์ประเภทอื่นๆ ขึ้นไปที่Blog ของตัวเองหรือทำการส่งเนื้อหาของเวบโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “news feed”
หลายๆเวบไซด์อณุญาตให้ผู้ใช้เพิ่ม keywordหรือ “Tag”(เปรียบเสมือนป้ายชื่อที่คอยบอกประเภทของไฟล์นั้น) ให้กับ ไฟล์รูปภาพ ,วีดีโอ และไฟล์อื่นๆของเรา ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้อาจจะอยากใส่คำว่า “Barcelona” และ “water balloons” ให้กับรูปภาพในวัน soggy day ที่ประเทศ สเปน
โดยธรรมชาติแล้ว Tag ต่างๆเหล่านี้ยังช่วยให้เราสามารถค้นหา เรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตลก เรื่องความสวยความงามหรือเรื่องอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปขุดค้นจาก Search Engine ทั่วไปด้วยความยากลำบาก
RSS
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
ข้อดีของ RSS
RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
จุดเด่นของ RSS คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบRSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
RSS หรือ Really Simple Syndication คือรูปแบบไฟล์ของภาษา XML ใช้สำหรับการแบ่งปันหัวเรื่อง ข้อมูลบนเว็บระหว่างเว็บด้วยกัน หรือสำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนเว็บของคุณ ซึ่งแต่ก่อน อาจมีการสร้างหัวเรื่องของข่าวจากเว็บต้นแบบ จากนั้นนำลิงค์ไปติดที่หน้าเว็บของเรา การแก้ไขถ้าเว็บต้นแบบแก้ไข เว็บของเราจะต้องทำการแก้ไขตามด้วย
นอกจากนี้สำหรับนักท่องเน็ตทั่วไป สามารถนำประโยชน์ของ RSS นี้ไปใช้งานได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์นั้นบ่อยๆ (ทั้งนี้เนื่องจากหลายๆ เว็บอาจมีการ udpate ข้อมูลที่ไม่พร้อมกัน) โดยสามารถติดตั้งโปรแกรมRSS Reader ใช้สำหรับดึงหัวข้อข่าวสารที่มีบริการ RSS มาไว้ในเครื่องของเรา และถ้ามีการ udpate จากเว็บนั้นๆ เราก็สามารถคลิกลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการได้โดยตรง ทำให้ย่นเวลาในการเข้าไปดูเว็บต่างๆ มากมาย
รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย หรือ ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
เพิ่มเติม : XML
XML (eXtensible Markup Language)
เป็นภาษาชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเขียนเอกสารประเภท markup โดยจะมีการใช้ tags ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับภาษา HTML เพื่อกำหนด แยกแยะประเภทของข้อมูลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จุดเด่นของ XML คือเป็นโปรแกรมที่ยืนหยุ่นมาก และไม่ขึ้นกับโปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการใดๆ
วิธีการรับ RSS
กรณีที่ยังไม่มีโปรแกรม RSS ต้อง Downloadโปรแกรม RSS มาติดตั้งที่เครื่องก่อน โปรแกรม RSS มีหลายค่าย ได้แก่
•RSS Reader (www.rssreader.com)
•RSS Bandit (www.rssbandit.org)
•Sharp Reader (www.sharpreader.net)
•Mozilla Thunderbird (www.mozilla.com/thunderbird)
•Microsoft Outlook (www.microsoft.com)
•Nuparadigm RSS Screensaver (www.nuparadigm.com)
ที่มา
XML
XML ย่อมาจาก Extensible Markup Language คือภาษาหนึ่งที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล ซึ่งภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่งMarkup ต่าง ๆ ถ้าเปรียบเทียบกับภาษา HTMLจะแตกต่างกันที่ HTML ถูกออกแบบมาเพื่อการแสดงผลอย่างเดียวเท่านั้น เช่นให้แสดงผลตัวเล็ก ตัวหนา ตัวเอียง เหมือนที่คุณเคยเห็นในเวบเพจทั้วไป แต่ภาษา XML นั้นถูกออกแบบมาเพื่อเก็บข้อมูล โดยทั้งข้อมูลและโครงสร้างของข้อมูลนั้นๆไว้ด้วยกัน ส่วนการแสดงผลก็จะใช้ภาษาเฉพาะซึ่งก็คือ XSL (Extensible Stylesheet Language)
ภาษา XML มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยแท็กเปิด และแท็กปิด เช่นเดียวกับภาษา HTML แต่ภาษา XML คุณสามารถสร้างแท็กรวมทั้งกำหนดโครงสร้างของข้อมูลได้เอง ซึ่งความสามารถตรงนี้ตัวภาษา ทำไม่ได้เพราะภาษา HTML ถูกกำหนดแท็กตายตัวโดย W3C หรือ World Wide Web Consortiumอาจกล่าวได้ว่า XML เป็นส่วนเสริมของ HTMLเพราะตัว XML ไม่สามารถแสดงผลได้ในตัวของมันเอง หากต้องการแสดงผลที่ถูกต้อง จะต้องมีการใช้ร่วมกับภาษาอื่น เช่นHTML,JSP, PHP , ASP หรือภาษาอื่น ๆ ที่สนับสนุน XML จะมีนามสกุลเป็น .XMLสามารถสร้างขึ้นจากโปรแกรมประเภท Text Editor ใดก็ได้ เช่น Notepad, Editplus , DreamWeaver, MS Word เป็นต้น
สิ่งที่ถือได้ว่าเป็นเสน่ห์ของ XML นั้นจะเป็นความสะดวกในการจัดการด้านระบบการติดต่อกับผู้ใช้จากโครงสร้างของข้อมูล เราสามารถนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาแสดงผลและประมวลผลร่วมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลูกค้า รายการสั่งซื้อ ผลการวิจัย รายการรับชำระเงินข้อมูลเวชระเบียน รายการสินค้าหรือข้อมูลสารสนเทศอื่นๆ ก็สามารถแปลงให้เป็น XML ได้ และในส่วนของข้อมูลสามารถปรับให้เป็น HTML ได้ สำหรับประโยชน์ในการใช้งานนั้น เราจะสามารถนำมาใช้สำหรับการเข้าถึงระบบข้อมูลขนาดใหญ่ใช้กับระบบเครือข่ายในองค์กร หรืออินเตอร์เนตเพื่อดูข้อมูลหรือเรียกใช้ข้อมูลที่ให้การแสดงผลทางหน้าจอที่รวดเร็ว
จุดเด่นของ XML
1. ดูเอกสารได้ง่าย สะดวก และได้ผลดีเหมือน HTML
2. สนับสนุนการประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ และสนับสนุนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
3. เขียนง่าย
4. อ่านได้ด้วยมนุษย์ โดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมหรือเครื่องมือช่วยแปล
5. การเขียน XML ทำได้ด้วยการใช้ Text editor ทั่วไป และไม่ต้องการเครื่องมือที่ซับซ้อน
6. ใช้เป็นตัวควบคุมข้อมูล (Meta data) จึงเป็นแนวทางในการขนส่งข้อมูล และสร้างการเชื่อมโยงระหว่างแอปพลิเคชั่นได้ง่าย
7. สนับสนุน UNICODE ทำให้ใช้ได้กับหลากหลายภาษา และผสมกันได้หลากหลายภาษา
8. ดึงเอกสาร XML มาใช้งานได้ง่าย และใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นได้ง่าย เช่น โปรแกรม DB2, Oracle, SAP เป็นต้น
9. นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายได้มาก เช่น E-Business, EDI, E-Commerce, การจัดการ Supply chain / Demand chain management, การดำเนินการแบบ intranet และ Web Base Application
ที่มา
artificial intelligence
artificial intelligenceความหมาย ใช้ตัวย่อว่าAI หมายถึง แขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์
1) ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert-Systems) เป็นระบบการให้คำแนะนำในการจัดการปัญหา โดยอาศัยความรู้ของผู้เชี่ยวชาญที่โปรแกรมไว้
2) Neural Networks เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถกระทำ หรือจำลอง การทำงานของสมองมนุษย์ได้
3) Genetic Algorithms ปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยในการสร้างทางเลือก จำนวนมากในการแก้ปัญหา รวมทั้งทางเลือกที่ดีที่สุด
4) การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เป็นการประมวลผลที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและโต้ตอบกับคำสั่ง หรือข้อความที่เป็นภาษา “ธรรมชาติ”ของมนุษย์ได้
5) ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems) เป็นระบบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยสามารถโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับสถานการณ์แวดล้อมได้
6) ระบบการมองเห็น (Vision Systems) ระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถบันทึกเก็บรักษาและจัดการกับภาษาที่มองเห็น หรือรูปภาพได้ เป็นการนำระบบนี้มาใช้ในการวิเคราะห์รอยนิ้วมือ
7) หุ่นยนต์ (Robotic) การพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรกล ให้ทำงานซึ่งมีลักษณะที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือเป็นงานที่น่าเบื่อ หรือทำให้เกิด ความเมื่อยล้าแก่มนุษย์
Phishin
Phishing คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขโมยข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขประจำตัวผู้ใช้ (User name) รหัสผ่าน (password)หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เป็นต้น โดยจะส่งข้อความมาลวงให้หลงเชื่อ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน
1. หยุดคิดก่อนคลิก และพิจารณาข้อมูลที่ได้รับทางอีเมล ข้อความ (SMS) หรือข้อมูลที่เข้าไปดูในเว็บไซต์ทุกครั้ง และ ควรลบข้อมูลที่น่าสงสัยนั้นทิ้งทันที
ที่มา
วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม
E1/E2 ทดสอบประสิทธิภาพของสื่อและนวัตกรรม
- การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณภาพของสื่อ
- 1. ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- 2. ช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทำแบบประเมินสุดท้ายที่มีประสิทธิภาพ
- 3. ผู้เรียนกับผู้สอนมีความพึงพอใจในการเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนในระดับมาก
ในขั้นตอนที่กำหนดใน 3 ประเด็น คือ
- ค่าประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนหรือบทเรียนแต่ละครั้ง ห้ามนำค่า E1/E2 มารวมกัน แล้วรายงานเป็นค่า E1/E2 ของวิชาหรือกลุ่มสาระ
*********************************************
- ขอขอบคุณบทความของ รศ. ดร. มนตรี แย้มกสิกร เรื่องเกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน:ความแตกต่าง 90/90 Standard และ E1/E2 (How to use efficiency criterion in media research and development : The Difference between 90/90 Standard and E1/E2 )
- การหาค่าประสิทธิภาพสื่อการสอนที่มีหลักการและแนวคิดสนับสนุน มี 2 วิธี คือ
- (1) เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) ตามแนวคิดของรองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท
- (2) E1/E2 ตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
- ที่มา/ศึกษาเพิ่มเติม
- www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/19-1/1.pdf
- http://www.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/issue/view/753
- วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม 2550-มกราคม 2551 (มหาวิทยาลัยบูรพา) หน้า 1 - 16
- Link และชื่องานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (สำหรับศึกษาเพิ่มเติม)
- วารสาร ศิลปากรศึกษาศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2556) หน้า 7 - 19
- https://www.facebook.com/chaiyong.brahmawong.7/posts/10203387676665122
- ข้อพึงระวัง
- การทดสอบประสิทธิภาพ ต้องหาประสิทธิภาพเป็นรายสื่อ รายชุด หรือรายหน่วย ไม่ใช่นำไปรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย
- การทดสอบประสิทธิภาพมุ่งทดสอบหาความก้าวหน้าในการเรียนเป็นรายครั้ง
- จะต้องทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนเป็นรายสื่อ รายชุดการสอน หรือรายบทเรียน
- การทดสอบประสิทธิภาพไม่ใช่การทดสอบผลสัมฤทธิ์
- ตัวอย่างบทคัดย่อที่เขียนตามแนวคิด
- Thailis
- วิจัยแบบ FullText ที่ทำตามแนวคิดของท่านศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
- http://ird.stou.ac.th/dbresearch/index.php หรือ http://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=14 เรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์สุมนทิพย์ บุญสมบัติ และรองศาสตราจารย์ ดร.วาสนา ทวีกุลทรัพย์)
- http://ird.stou.ac.th/dbresearch/fDetail.php?fID=79 การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่องการจัดการเรียนการสอนพหุวัฒนธรรมให้กับผู้เรียนในสถานศึกษา (ผู้วิจัย : ศาสตราจารย์ ดร.สิริวรรณ ศรีพหล) มีการนำเสนอ Tryout + Trial Runs ด้วย (น่าสนใจศึกษา)
- ชุดการสอนซ่อมเสริมรายบุคคลเรื่อง เศษส่วน ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ผู้วิจัย : นายสัญชัย รอบรู้) จาก thailis (มีท่านศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ เป็นอาจาย์ที่ปรึกษา)
- คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.educ.su.ac.th
- ดูที่หัวข้อ : ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย / อบรม
- บทความวิจัยพิเศษของ ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
- เอกสารประกอบการบรรยาย (การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา)
- เอกสารประกอบการบรรยาย (นวัตกรรม คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การเรียนการสอน)
- เอกสารประกอบการบรรยาย (การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน)
t-test แบบ Independent และ t-test แบบ Dependent
“การทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ด้วยสถิติ t-test”
การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test
รวบรวมข้อความรู้เกี่ยวกับการใช้สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่นิยมใช้ในการวิจัย
ที่เปรียบเทียบความแตกต่างของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง
ในตอนแรกจะเสนอเนื้อหาการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test
ซึ่งมี 2 แบบ คือ t-test แบบ Independent และ t-test แบบ Dependent ซึ่งมีวิธีการเลือกใช้และข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้แตกต่างกัน
ส่วนเนื้อหาตอนหลังมีสรุปเกี่ยวกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างที่ใช้กันบางตัว
เช่น F-test ANOVA เป็นต้น มีสาระสำคัญ
ดังนี้ค่ะ
การทดสอบที (t-test)
เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ
โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ
t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า
“student” ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย
การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า
Student t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม
(อรุณี อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)
การใช้ t-test แบบ Independent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (
)ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน
ใช้สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า
t-test for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง
ซึ่งมี 2 กรณี (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Two
Independent Samples)
t-test (Independent)
1. กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กัน(เป็นอิสระต่อกัน)
2. ค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3. กลุ่มตัวอย่างได้มาอย่างสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4. ไม่ทราบความแปรปรวนของแต่ละประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์
ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551,
หน้า 58)
การใช้
t- test แบบ dependent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย(
)ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว
ได้แก่ สถิติการทดสอบค่า t มีชื่อเฉพาะว่า
t-test for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่(ชูศรี
วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2540, หน้า
240) กล่าวว่า ข้อมูลที่เรียกว่า คู่(pair
observation) นั้นมีหลายประเภท
แต่คุณสมบัติสำคัญจะต้องเกี่ยวข้องกัน (Dependent Sample)มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ
ข้อมูลที่สอบหรือวัดจากคนเดียวกัน 2 ครั้ง
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ t-test (Mean One Sample Test) กรณีมีกลุ่มตัวอย่าง
1 กลุ่ม(One Sample)
1. ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค(Interval Scale) หรือมาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
2. กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มได้จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
3. ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
4. ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์
ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551,
หน้า 55)
ประเภทที่สอง เป็นประเภทคุณลักษณะของตัวอย่างที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดเลือกมาเป็นคู่ๆ(math-pairs)
เช่น เด็กฝาแฝด สามีภรรยา เชาว์ปัญญาเท่ากัน รสนิยมเดียวกัน เป็นต้น ตอนเลือกมาจะเป็นคู่ๆ
แต่ตอนทำการทดลอง หรือศึกษาจะต้องสุ่มอีกครั้ง การทดสอบความแตกต่างจะใช้ t-
dependent
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน(Two
Related-Samples)
t-test (Dependent or Matched Pair Sample)
1. ข้อมูล 2 ชุดได้มาจากลุ่มตัวอย่างเดียวกัน
หรือมาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน
2. ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3. กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4. ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์
ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข(2551,
หน้า 56-57)
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 381)
สรุปไว้ว่า สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว มี 2 ตัว คือ Z-test กับ t-test
Z-test ใช้ในกรณีที่ ทราบความแปรปรวนของประชากร(µ)
ถ้าไม่ทราบจะใช้ t-test แต่มีตำราหรือนักสถิตหลายท่าน
เสนอว่า หากไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรถ้ามีตัวอย่างขนาดเล็ก น้อยกว่า 30
ให้ใช้ t-test แต่ถ้ามีขนาดใหญ่
คือ มากกว่า 30 จะใช้ Z-test ก็ได้เป็นการใช้เพื่ออนุโลมกัน มิใช่ว่าจะใช้แทนกันได้เลย เพราะว่า
ค่าวิกฤติของ t-test ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ ส่วนของ Z-test ไม่ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ จากตารางการแจกแจงแบบ t จะเห็นว่า
เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น ค่า t จะใกล้เคียงกับค่า
Z และเกือบจะเท่ากัน เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเท่ากับ 120
เป็นต้นไป ฉะนั้น ถ้าไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร จะใช้ Z-test
แทน t-test
สิทธิ์ ธีรสรณ์(2552,
หน้า 152-153) สรุปไว้ว่า
ในกรณีที่เป็นสถิติอิงพารามิเตอร์ ถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ก็ใช้ t-test
ซึ่งแบ่งเป็น t-test for
Independent Means สำหรับการเปรียบเทียบสองกลุ่ม
ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ก็ใช้ t-test
for Dependent Means ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนมากกว่าสองกลุ่ม
ก็ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance หรือ ANOVA)
ดาวน์โหลดเอกสาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)